microphone

ไมโครโฟน articleการเลือกใช้ Microphone
ในเรื่องของไมโครโฟนจะมีสองส่วนใหญ่ ส่วนแรกคือวิธีเลือก(choosing) กับวิธีวาง(placing)
ซึ่งทั้งสองส่วนมีความสำคัญมากไม่แพ้กันครับ ถ้าเข้าใจสองส่วนนี้แล้วก็สามารถพูดได้เลยว่าทำงานบันทึกเสียงโดยใช้ไมโครโฟนได้อย่างมีชั้นเชิง

ในตอนนี้เราจะมาว่ากันถึงส่วนแรกก่อนคือวิธีเลือก (choosing)
ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจกับไมโครโฟนซักนิดก่อนครับ

ไมโครโฟนเป็นอุปกรณ์บันทึกเสียงชนิดหนึ่งที่ไม่ได้ทำให้เสียงดังขึ้น ขอย้ำว่าไม่ได้ทำให้เสียงดังขึ้น พอพูดถึงเรื่องนี้หลายคนเริ่มสงสัยว่าทำไมพูดอย่างนั้น คือลองดูที่ชื่อของมันสิครับ Microphone (Micro แปลว่าเล็ก Phone แปลว่าเสียง Microphone น่าจะแปลว่าเสียงเล็กๆถ้าแปลแบบกำปั้นทุบดินไม่เห็นมีการพูดถึงการขยายเสียงเลย)

การทำงานของไมโครโฟนตัวมันก็ไม่มี แอมปลิฟลายน์ในตัวซักหน่อย ที่จะมาขยายเสียงได้ คราวนี้ให้ลองสังเกตดูที่สายที่ต่อออกจากไมโครโฟนมันจะเป็นสายเคเบิลที่ทำด้วยทองแดง ลองถามตัวเองดูเล่นๆนะครับว่าเสียงสามารถอยู่ในทองแดงแล้ววิ่งไปมาได้หรือ คำตอบคือเสียงไม่สามารถอยู่ในทองแดง แล้ววิ่งไปมาตามที่เราต้องการได้ครับ แต่นี่ละครับเป็นหน้าที่ของเจ้าไมโครโฟนที่จะทำให้เสียงวิ่งอยู่ในลวดทองแดงได้ เพราะสิ่งที่จะวิ่งอยู่ในลวดทองแดงหรือพวกสายเคเบิลได้คือไฟฟ้าครับ ซึ่งเจ้าไมโครโฟนจะเปลี่ยนสัญญาณเสียงที่มันได้รับเป็นสัญญาณไฟฟ้า พอเสียงกลายเป็นสัญญาณไฟฟ้าก็วิ่งไปมาในระบบได้เต็มที่เลยครับและสุดท้ายสิ่งที่จะเปลี่ยนไฟฟ้ากลับมาเป็น เสียงอีกครั้งเพื่อให้เราได้ยินก็คือลำโพงนั่นเองเพราะฉะนั้นไมโครโฟนกับลำโพงส่วนประกอบของมันจริงๆแล้วหลักการก็คล้ายกันมากเพียงแต่ต่อมันกลับหัวกลับหางเท่านั้นเอง

ดังนั้นถ้าเราเอาไมโครโฟนมาตัวหนึ่งแล้วลองพูดดูถ้าเป็น Dynamic Microphone (ไมโครโฟนที่ทำงานโดยไม่ต้องใช้ไฟ) มันจะมีไฟออกมาทางก้นไมโครโฟนทันทีแต่ไม่ต้องกลัวถูกไฟดูดหรอกครับเพราะขนาดไฟที่ออกมามีขนาดน้อยมากๆไม่มีทางดูดใครได้

บางท่านอาจจะแย้งว่าเคยถูกไมโครโฟนดูดเป็นประจำเวลาเอาปากไปร้องใกล้ๆ


อันนั้นไม่ใช่ไฟที่ออกมาจากไมโครโฟรครับมันมักจะเป็นไฟที่รั่วมาจากอุปกรณ์ ตัวอื่นๆมากว่า เช่น พวกพาวเวอร์แอมป์เป็นต้น สัญญาณที่ได้จากไมโครโฟนนั้นยังไม่พร้อมที่จะนำไปบันทึกเสียงหรือออกกระจายเสียงครับเนื่องจากสัญญาณมันเบามาก ต้องมีตัวขยายเสียงอีกทีหนึ่งไอ้เจ้าตัวที่มาขยายสัญญาณจากไมโครโฟนก็คือ ปรีไมโครโฟน ( Pre Microphone Amplifier ) เมื่อสัญญาณที่ได้จากไมโครโฟนถูกขยายแล้วก็สามารถลงไปซาวด์การ์ดได้เลยหรือพูดง่ายๆคืออัดได้เลยครับ

ปรีไมโครโฟนนี้มีหลายที่ครับ ซาวด์การ์ดบางรุ่นก็มี (ช่องที่ให้เสียบไมค์นั่นละครับคือปรีไมค์) มิกซ์เซอร์ก็มีครับแต่ถ้าจะให้คุณภาพดีที่สุดควรจะเป็นปรีไมค์ที่เป็นแร็คอยู่ด้านนอกครับคุณภาพก็ตามราคา




หลังจากที่พูดถึงการทำงานของไมโครโฟนเบื้องต้นมาพอสมควรแล้วผมขออนุญาติ แบ่งไมโครโฟนออกเป็น 2 ประเภทเพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจแล้วกันนะครับ

1.Dynamic Microphone
เป็นไมโครโฟนที่ไม่ต้องใช้ไฟคือตัวมันเสียบเข้าปรีไมค์แล้ว Boost เสียงก็ดังทันทีเลย ธรรมชาติของไมโครโฟนประเภทนี้มักจะไม่ค่อยไว เหมาะสำหรับจับเสียงตู้แอมป์กีตาร์ แอมป์เบส เสียงกระเดื่อง กลองทอม ไม่นิยมที่จะใช้จับ Ambient (บรรยากาศห้อง) , เสียงร้อง , เสียงกีตาร์อคูสติคหรือเครื่องอคูสติค ทั้งหลายเนื่องจากไม่ไวพอ ยกเว้นเครื่องเป่าบางขนิดที่เสียงดัง เช่น แซ็คโซโฟน , ทรัมเป็ต ส่วนพวกฉาบและไฮแฮท (เครื่องทองเหลือง) ไม่นิยมจับด้วย Dynamic Microphone เนื่องจากไมโครโฟนกลุ่มนี้ไม่ค่อยตอบสนองย่านความถึ่ช่วงสูงได้ดีนัก



2.Condenser Microphone
อันนี้เป็นไมโครโฟนที่ต้องใช้ไฟครับ แต่มันจะใช้ไฟเพียงแค่ 48 volt เราจะเรียกว่า Phantom (หรือใช้สัญลักษณ์ +48V) ซึ่งหากจะใช้ไมโครโฟนประเภทนี้ต้องมี ไอ้เจ้าไฟ +48 V ด้วยครับ ซึ่งไมโครโฟนที่ใช้ไฟพวกนี้จะมีความไวสูงมากครับคือเสียงเบาๆมันก็รับไปหมด ซึ่งเป็นทั้งข้อดีและข้อเสียครับ คือ มันจะให้รายละเอียดที่มากและยังสามารถรับความถี่สูงได้ดีอีกด้วย สามารถเอามาจับบรรยากาศห้องก็ได้เพราะมันไวพอ หรือจะเอามาจับเครื่องอคูสติกก็เยี่ยมครับ แต่ข้อควรระวังก็มีครับคือเนื่องจากความไวของมันนั่นเองทำให้ไม่เหมาะที่จะนำไปใช้กับสถานที่ที่มีเสียงรบกวนสูง และไม่สามารถที่จะนำไปวางใกล้ๆกับอุปกรณ์ดนตรีที่มีเสียงดังมากๆได้ เช่นพวกตู้แอมป์ต่างๆ (แต่ไม่ได้หมายความว่ามันไม่สามารถจับตู้กีตาร์ได้นะครับเพียงแต่ต้องระวังเป็นอย่างมากและต้องรู้เทคนิคเล็กน้อย)



หลังจากที่ทราบรายละเอียดเกี่ยวกับชนิดของไมโครโฟนแล้วมีอีกเรื่องที่สำคัญมากๆต่อการเลือกใช้ไมโครโฟน คือ ขนาดของ Diaphragm (คือ ขนาดของแผ่นรับเสียงที่ไมโครโฟน ต้องขออภัยครับที่ไม่สามารถแปลคำว่า Diaphragm เป็นภาษาไทยได้เพราะไม่ทราบจริงๆว่ามันแปลเป็นไทยว่าอะไรถ้าท่านใดทราบก็เมลล์มาบอกกันได้นะครับ) ไมโครโฟนที่ Diaphragm ใหญ่ (Large Diaphragm) จะตอบสนองต่อความถี่ต่ำได้ดีกว่า ไมโครโฟนที่ Diaphragm เล็ก (Small Diaphragm) ส่วนความถี่สูง Diaphragm เล็กจะตอบสนองได้ชัดเจนกว่าแต่ Diaphragm ใหญ่ก็ตอบสนองได้ครับ แต่เนื่องจาก Diaphragm ใหญ่จะให้ความถี่ต่ำด้วยบางครั้งเลยทำให้ดูเหมือนว่ามันตอบสนองความถี่สูงได้ไม่ชัดเจนเท่า Diaphragm เล็ก สรุปว่าสำหรับความถี่ต่ำ สมควรถูกจับด้วย Diaphragm ใหญ่เท่านั้น ส่วน ความถี่สูงจะจับด้วย Diaphragm เล็กก็ได้ใหญ่ก็ได้แต่จะได้สำเนียงต่างกัน

ขอสรุปการเลือกใช้ ไมโครโฟนตามมาตรฐานตามขนิดเครื่องดนตรีเพื่อเป็นแนวทางการเลือกซื้อเลือกใช้ (ไมโครโฟนที่ยกเป็นตัวอย่างเป็นไมโครโฟนที่ทั่วโลกนิยมใช้กัน บางตัวราคาอาจสูงมากลองเอาชื่อไมโครโฟนเหล่านี้ไป Search ดูเล่นก็ได้ครับจะเห็นรายละเอียดอีกมากมาย)

- Bass Drum ควรจับด้วย Large Diaphragm Dynamic Microphaone รุ่นที่นิยมได้แก่ AKG D112 , Electrovoice RE20 , Shure
- Snare ควรจับด้วย Dynamic Microphone รุ่นที่นิยมได้แก่ Shure SM57
- Tom ควรจับด้วย Large Diaphragm Dynamic Microphone รุ่นที่นิยมได้แก่ Sennheizer MD421 (สำหรับ Tom ใบเล็กบางท่านอาจนิยมจับด้วย Shure SM57 สำหรับ Floor Tom บางท่านอาจนิยมจับด้วย Electrovoice RE 20)
- Hihat ควรจับด้วย Condensor Microphone รุ่นที่นิยมได้แก่ AKG 414 , AKG 451 , Neumann KM 184
- Overhead ควรจับด้วย Condensor Microphone รุ่นที่นิยมได้แก่ Neumann U 87 , Neumann KM 184 , AKG 451
- Amp Bass ควรจับด้วย Large Diaphragm Microphone จะเป็น Dynamic หรือ Condensor ก็ได้ แต่ถ้าเป็น Condensor ควรจะวางห่างออกมาซักประมาณ 1 ฟุต รุ่นที่นิยมได้แก่ Electrovoice RE 20 , AKG D112 , Neumann U 87 , AKG C12



เพิ่มเติมคลิกhttp://www.audiocity2u.com/Microphone